Active Generations Health “รองช้ำ” คืออะไร? แก้อย่างไร?

“รองช้ำ” คืออะไร? แก้อย่างไร?

รองเท้าสุขภาพ

คำว่า “รองช้ำ” เมื่อฟังแล้ว ท่านผู้อ่านทั้งหลายคงสะดุดและรู้สึกแปลกใจกันใช่มั้ยหล่ะครับ จริง ๆ แล้วรองช้ำไม่ใช้อาการใหม่หรือโรคประหลาด ๆ ใด ๆ เพียงแต่เป็นชื่อเรียก อาการเจ็บปวดหรืออักเสบบริเวณฝ่าเท้า รองช้ำจะมีอาการเจ็บบริเวณส้นเท้าลามไปจนถึงทั่วฝ่าเท้า คล้าย ๆ กันมีของแหลมทิ่มแทงตามจุดต่าง ๆ ของกล้ามเนื้อฝ่าเท้าและบริเวณน่องจะมีอาการเกร็งพร้อมกับเกิดอาการปวดอย่างรุนแรงเมื่อลุกเดินหรือทำกิริยาที่มีการกดน้ำหนักลงไปที่ฝ่าเท้า

สาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดอาการรองช้ำ เกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำร้ายสุขภาพเท้าโดยที่เราไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างได้ดังนี้

1.เกิดการกดทับหรือรับน้ำหนักเป็นเวลานานฝ่าเท้า พบได้มากกับผู้ที่ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ๆ 
2.เกิดกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะการใช้ชีวิตต่าง ๆ ล้วนที่จะต้องเกินการเคลื่อนไหวและทำให้เกิดการลงน้ำหนักที่เกินกว่าออุ้งเท้าจะรับได้เป็นเวลาทุกวัน ซึ่งจะทำให้เกิดผังผืดและเกิดการอักเสบได้
3.สวมใสรองเท้าที่ไม่ได้มาตราฐานและทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ
4เกิดจากเอ็นร้อยหวายยึด ทำให้เกิดอาการเกร็งบริเวณส้นเท้า ทำให้เคลื่อนไหวผิดรูป
5.เกิดจากโรงคไขข้อสันหลังอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบบริเวณส้นเท้าควบคู่กันไปด้วย
6.การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการกดทับน้ำหนักบริเวณฝ่าเท้าย้ำ ๆ แล้วไม่มีการยืดหรือคลายกล้ามเนื้อหลังจากเล่นเสร็จ นาน ๆ เข้าอาจจะทำให้เกิดการรองช้ำและอักเสบบริเวณฝ่าเท้าได้

การดูแลปัญหา “อาการรองช้ำ” ไม่ใช่เรื่องยาก

สำหรับผู้ที่มีอาการรองช้ำหรืออักเสบบริเวณฝ่าเท้า สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

1.สำหรับผู้ที่มีอาการรองช้ำ หลังจากการออกกำลังกายหรือเดินเป็นระยะเวลานาน ๆ ให้ทำกายบริหารที่จะทำให้ยืดกล้ามเนื้อ เพื่อที่จะทำให้กล้ามเนื้อคลายความเครียด ลดอาการเกร็ง
2.เมื่อเกิดอาการรองช้ำ ให้ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็นเพื่อรักษาอาการอักเสบของเอ็น พร้อมกับนวดบริเวณเท้า
3.เลือกใส่รองเท้าที่ออกแบบสำหรับช่วยรองรับอุ้งเท้า เพื่อกระจายน้ำหนัก ลดอาการกดทับและลดความเจ็บปวดจากอาการรองช้ำ
4.หากเกิดอาการรองช้ำ สามารถรับประทานยาต้านการอักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อหากรู้สึกปวดเมื่อย ซึ่งทางแนะนำให้เป็นทางเลือกสุดท้ายครับ

หากให้ทางเราแนะนำแล้วหล่ะก็ เราขอเสนอใช้เลือกรองเท้าสุขภาพที่มีมาตรฐานและสามารถรองรับอาการอักเสบพร้อมกับช่วยกระจายน้ำหนักบริเวณฝ่าเท้าได้ดี เป็นทางเลือกแรก ๆ เนื่องจากทำได้ง่ายและสะดวกที่สุดครับ เราหวังว่าบทความข้างต้นจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน และขอฝากรองเท้า Scholl รองเท้าสุขภาพไว้ในอ้อมกอดอ้อมใจของท่านผู้อ่านด้วยนะครับ

Related Post

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

Q&A กับคำถามต่างๆ ของสุขภาพพนักงานที่หลายคนอาจจะสงสัยQ&A กับคำถามต่างๆ ของสุขภาพพนักงานที่หลายคนอาจจะสงสัย

 เชื่อว่าหลายคนนั้นในตอนนี้กำลังทำงานอยู่ภายใต้ในองกรณ์ใด องกรณ์หนึ่งอน่างแน่นอนซึ่งการที่เราทำงานอยู่ภายใต้องกรณ์ต่าง ๆ นั้นเราอาจจมีคำถามากมายในเรื่องของสุขภาพดังนั้นในบทความนี้เราอยากจะขอพูดถึง Q&A กับคำถามต่างๆ ของสุขภาพพนักงานที่หลายคนอาจจะสงสัย และในบทความนี้เราได้นำคำตอบมาไว้ให้ทุกคนแล้วนะครับ จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานหรือไม่ ? และคำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในการทำงานด้วยนะครับ  จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานหรือไม่ ?   เชื่อว่าหลายคนนั้นอาจจะสงสัยกันมาอย่างยาวนานว่า “เราจำเป็นที่จะต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน” หรือไม่ ? ซึ่งตามกฎหมายของแรงงานได้ระบุไว้ว่าการที่เราจะต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานนั้นจะมีเพียงเเค่บางอาชีพเท่านั้นที่จะต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานนะครับ อย่างเช่น อาชีพที่มีความเสี่ยงในด้านความปลอดภัย ความเสี่ยงของสภาพอากาศต่าง ๆ และ ความเสี่ยงในด้านสารเคมี ซึ่งอาชีพไหนที่มีความเสี่ยงมากจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เพื่อเช็คสภาพร่างกายว่าพร้อมเข้าทำงานหรือไม่ ส่วนอาชีพที่ไม่มีความเสี่ยงนั้นก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานก็ได้นะครับ (เเต่ว่าทางบริษัทจะพิจารณารับเข้าทำงานหรือไม่ก็อีกเรื่องนะครับ)  อาชีพไหนบ้างที่ต้องตรวจร่างกายเเบบเจาะลึก   อีกหนึ่งเรื่องที่เราจะต้องเรียนรู้ไว้นั้น อาชีพส่วนมากนั้นจะต้องตรวจร่างกายเเบบธรรมดาซะส่วนมากเพราะว่าไม่ได้เสี่ยงอันตรายอะไรมาก เเต่สำหรับบางอาชีพนั้นจะต้องมีการตรวจร่างกายที่เจาะลึกยกตัวอย่างเช่นงานที่มีการทำงานอยู่กับฝุ่นตลอดเวลา เพราะว่ามีโอกาสที่จะทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้นะครับ และ อีกหนึ่งตัวอย่างนั้นคือ ในเรื่องของ การทำงานกับสภาพอากาศที่ย่ำแย่

ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

รวมหลักการทานอาหารระหว่างการทำเคมีบำบัดที่ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งควรรู้รวมหลักการทานอาหารระหว่างการทำเคมีบำบัดที่ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งควรรู้

หากว่าเอ่ยถึงเคมีบำบัด หลายคนคงคุ้นหูกันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งเคมีบำบัดนั้นหมายถึงการใช้ยาสำหรับทำลายการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ทั้งนี้ก็เพื่อการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีทั้งการให้ยาเพียงชนิดเดียวและมากกว่าหนึ่งชนิด ขึ้นอยู่กับอาการป่วยของผู้ป่วยนั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งในระหว่างการทำเคมีบำบัด สิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งควรคำนึงถึงมากที่สุดก็คือการรับประทานอาหารนั่นเอง  โดยอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยมีดังนี้  1.ไข่  ในไข่อุดมไปด้วยโปรตีนจำนวนมาก อีกทั้งยังย่อยง่าย สามารถปรุงอาหารได้อย่างหลากหลาย จึงเหมาะสมกับการนำมาปรุงอาหารให้ผู้ป่วยได้รับประทาน โดยโปรตีนในไข่จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเป็นพลังงานให้กับร่างกาย ช่วยลดความอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด  2.ข้าวไม่ขัดสี  การรับประทานข้าวคือสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในระหว่างการทำเคมีบำบัด เนื่องจากว่าข้าวเปี่ยมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นพลังงานหลักของร่างกาย ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งควรเน้นให้รับประทานข้าวไม่ขัดสี เนื่องจากอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารมากกว่าข้าวขาวธรรมดา นอกจากนี้ในข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ยังมีไฟเบอร์ ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งนั้นสามารถขับถ่ายได้ง่ายอีกด้วย  3.ถั่วเปลือกแข็ง  เนื่องจากในช่วงที่ทำเคมีบำบัด ผู้ป่วยจะไม่สามารถรับประทานขนมขบเคี้ยวได้ทุกชนิด ทั้งขนมหวาน

เครื่องช่วยฟัง อย่างดี

รวมเทคนิควิธีการเลือกเครื่องช่วยฟังที่ดีและตามงบประมาณที่วางไว้รวมเทคนิควิธีการเลือกเครื่องช่วยฟังที่ดีและตามงบประมาณที่วางไว้

อย่างที่ทราบกันดีว่าการเลือกเครื่องช่วยฟังที่ดีขึ้นอยู่กับความต้องการและการใช้งานของแต่ละบุคคล แต่ละคนอาจมีความต้องการแตกต่างกันไป เช่น บางคนอาจต้องการเครื่องช่วยฟังที่มีคุณภาพเสียงสูง เพื่อฟังเพลงหรือเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา และบางคนอาจต้องการเครื่องช่วยฟังที่สามารถลดเสียงรบกวนและเพิ่มความชัดเจนของเสียงพูดได้